20 ธันวาคม 2554

ลองอัป Cooper เป็น 2.3.4 Gingerbread


1.การทำ
  • Backup ข้อมูลสมุดรายชื่อ และ App ต่้างๆ
  • เรียกโปรแกรม Kies บน PC (ต้องการที่ว่างใน C: 3GB ขึ้นไป)
  • ใช้เวลาทำประมาณ 45 นาที

การจัดการสมุดรายชื่อ Contacts


ในกรณีที่คุณจะอัปเกรดแอนดรอยด์เป็นรุ่นใหม่ หรือจะส่งเครื่องเข้าศูนย์ สิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องทำ คือการเก็บสำรองข้อมูลของสมุดรายชื่อ Contacts ไว้ก่อน เพื่อจะได้สามารถมา Restore คืนในภายหลังได้

ลอง Factory Data Reset

ได้ลองสั่ง Factory Data Reset เครื่อง Cooper เพื่อเตรียมสำหรับการอัปเดตเฟิร์มแวร์เป็น 2.3.4
โดยมีขั้นตอนดังนี้

10 ธันวาคม 2554

Recovery Mode

กรณีเครื่อง Samsung Galaxy มีปัญหาบูตไม่ได้ หรือไม่เห็นหน้าจอ
อาจแก้ไขได้โดยบูตเครื่องใหม่ให้เข้าไปสู่ Recovery Mode

Recovery Mode คือการโหมดการทำงานพิเศษของเครื่อง ไว้ใช้ในกรณีไม่สามารถใช้ OS ของเครื่องได้ โดยใน Recovery Mode จะมีคำสั่งต่างๆ ในเลือกใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือใช้ในการล้างเครื่อง
วิธีเข้า Recovery Mode (สำหรับ Samsung Galaxy ส่วนใหญ่)
  • ให้ปิดเครื่องก่อน
  • กดปุ่ม Home ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม Power รอจนกว่าเครื่องจะบูตเข้าหน้าจอ Android system recovery
วิธีออก
  • เลือกที่คำสั่ง reboot system now
วิธีใช้งาน
  • กดปุ่มปรับเสียงขึ้น (Volume Up) คือเลื่อนขึ้น
  • กดปุ่มปรับเสียงลง (Volume Down) คือเลื่อนลง
  • กดปุ่ม Home คือ ตกลง
สำหรับเครื่อง Galaxy Cooper ของผม เมื่อเข้า Recovery Mode แล้วจะมีข้อความหน้าจอดังนี้


เมนูคำสั่งมีให้ใช้ 5 คำสั่งคือ
  1. reboot system now บูตเครื่องใหม่
  2. apply update from sdcard อัปเดตเฟิร์มแวร์จาก SD Card
  3. wipe data/factory reset ลบข้อมูลและรีเซ็ตเครื่องล้างเครื่องให้เหมือนมาจากโรงงาน
  4. wipe cache partition ลบพาร์ทิชันของแคช
  5. test redbend fota[FS] ทดสอบการทำงานของ FOTA (Firmware Over The Air) ตามมาตรฐานของ Red Bend
สำหรับเครื่องที่มีปัญหามากๆ ต้องการล้างเครื่อง (Factory Reset)  แต่ไม่สามารถบูตเข้า Android ได้ ก็สามารถเข้า recovery Mode แล้วสั่ง wipe data/factory reset ได้ครับ

12 สิงหาคม 2554

ลองใช้แอปสำหรับการจัดการคลิปบอร์ด



รู้สึกเบื่อบ้างไหมกับการต้องคอยป้อนอีเมล์แอดเดรสของตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า ป้อนแต่ละทีก็ลำบาก แตะถูกบ้างผิดบ้าง ลองเก็บมันไว้เป็นข้อความในคลิปบอร์ดดีไหม จะใช้เมื่อไรก็คลิกวางได้เลย ไม่ต้องป้อนให้หงุดหงิดเสียเวลา

ลักษณะของโปรแกรมประเภทนี้คือ เราจะต้องสร้างหรือเก็บคำหรือข้อความที่ใช้บ่อยๆ เอาไว้ในโปรแกรมก่อน เช่นอีเมล์แอดเดรส ชื่อ หรือที่อยู่ พอถึงตอนจะกรอกข้อความ แทนที่จะค่อยๆ จิ้มกรอกทีละตัว ก็ใช้วิธีเรียกออกมาจาก Notification bar ที่อยู่ด้านบน เลือกคำที่จะใช้ แอปจะเอาคำๆ นั้นไปวางไว้ในคลิปบอร์ดให้ จากนั้นเราก็จะต้องสั่งวาง หรือ Paste อีกที เหมือนการ Paste ตามปกติ คือแตะค้างในจุดที่จะวาง รอจนเมนูโผล่ขึ้นมา แล้วเลือก "วาง" ผมได้ลองดาวน์โหลดมาใช้อยู่ 3 ตัวเปรียบเทียบกันได้แก่ copiPe, Clipper และ aNdClip Free มาลองติดตามดูว่าแต่ละตัวจะเป็นอย่างไรกันบ้าง


ตัวแรก CopiPe เป็นแอปของชาวญี่ปุ่น 







ข้อดี
-สร้างข้อความที่จะใช้วางได้เองไม่จำกัด สะดวก แก้ไขได้
-ใช้งานได้ฟรีแบบเต็มประสิทธิภาพ
-จัดกลุ่มข้อความเป็นโฟลเดอร์ได้
-สามารถวางวันที่หรือเวลาปัจจุบันได้

ข้อเสีย
-ต้องเตรียมข้อความไว้ก่อนเอง

ตัวต่อมา Clipper
ตัวนี้ก็น่าใช้้หมือนกัน แต่ต่างจากตัวแรกตรงที่สามารถเก็บคำที่เราสั่ง "copy" ในขั้นตอนที่เรา copy-paste ตามปกติ ไว้ให้ด้วย ดังนั้นหากเราจำได้ว่าคำๆ ไหนเคยสั่ง copy-paste ไว้แล้วก็สามารถเรียกคำนั้นออกมาใช้ใหม่ได้เลย

ข้อดี
-สามารถเก็บข้อความที่เคย copy ไว้ได้มากถึง 20 ข้อความล่าสุด
-สามารถปักหมุดข้อความที่ชอบไว้ตลอดไปได้ เพื่อใช้ซ้ำในอนาคตโดยจะไม่ถูกลบ
-สามารถสร้างข้อความพิเศษได้เอง
-ตั้งฟอนต์ได้ 5 ขนาด

ข้อเสีย
-สามารถวางวันที่หรือเวลาปัจจุบันได้ แต่ต้องเป็นรุ่นเสียเงิน

ตัวสุดท้ายคือ aNdClip Free เป็นของญี่ปุ่นเหมือนกับตัวแรก
ตัวนี้สามารถจำข้อความที่เราสั่ง copy-paste ไว้ได้เหมือน Clipper และสามารถนำเอาอีเมล์แอดเดรสที่เรามีอยู่แล้วในสมุดรายชื่อมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องสร้างใหม่

ข้อดี
-สามารถเก็บข้อความที่เคย copy ไว้ได้มากถึง 300 ข้อความล่าสุด
-สามารถสร้างข้อความใหม่ได้เอง รวมทั้งสร้างโฟลเดอร์ไว้เก็บข้อความเป็นกลุ่มได้
-ใช้อีเมลแอดเดรสหรือหมายเลขโทรศัพท์จากสมุดรายชื่อได้่โดยไม่ต้องสร้างใหม่
-ตั้งฟอนต์ได้ 5 ขนาด

ข้อเสีย
-ไม่สามารถวางวันที่หรือเวลาปัจจุบันได้
Published with Blogger-droid v1.7.4

9 สิงหาคม 2554

ลอง Video Call สำหรับ Cooper คุยกะ iPad2






หลังจากคุณนาย N.A. ของผมได้ของเล่นใหม่เป็นเครื่อง iPad2 มาเมื่อไม่กี่วันมานี้ คุณนายเกิดอยากโทรคุยกันกับผมแบบเห็นหน้า ทั้งที่เครื่อง Cooper ไม่มีกล้องหน้าแต่ก็อยากลองดู ผมจึงต้องเริ่มลองหาข้อมูลและโหลดแอปหลายๆ ตัวมาใช้ นี่คือผลสรุปครับ

แอปอ่านข่าว Thairath LITE


แอปอ่านข่าวฟรีสำหรับแฟนๆ ไทยรัฐ

ข้อดี
โปรแกรมเล็กและเร็วดี
ขนาดตัวอักษรปรับได้ถูกใจ

ส่วนที่น่าจะปรับปรุง
1. น่าจะสั่งโหลดข่าวมาอ่านแบบ offline ได้แบบออโต ตามหมวดข่าวที่เลือกไว้
2. แกลลอรีของข่าว ควรวางอยู่ท้ายข่าวด้วย
3. ขนาดตัวอักษรในหน้าหัวข้อข่าว ควรตั้งขนาดได้
4. ย้ายที่เก็บโปรแกรมไปไว้ใน Sd card จะได้ประหยัดหน่วยความจำของเครื่อง

3 สิงหาคม 2554

บันทึกปัญหาเรื่องวันเวลาของไฟล์ภาพและวิดีโอ
หากเราถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอจาก Galaxy Cooper ไฟล์ที่ได้จะมีปัญหาเรื่องวันที่และเวลา
คือเครื่องจะบันทึกเวลาท้องถิ่น (UTC+7) ลงใน EXIF แต่เวลาของไฟล์จะเป็นเวลา UTC
ส่วนไฟล์ Video จะไม่มี EXIF
แต่ยังโชคดีอย่างที่ชื่อไฟล์มักมีวันเวลาด้วย เช่น
2011-06-03 10.13.01.jpg
และ
video-2011-06-05-18-16-42.mp4
หรือ
2011_07_28__16_20_33.3gp
แต่ก็มีบางโปรแกรมที่ไม่บันทึกวันที่เวลาเป็นชื่อไฟล์ เช่น
VIDEO00006.mp4
สรุปไฟล์รูปภาพที่อยูใน Cooper จะมีบันทึกวันเวลาไว้ 3 จุดคือ
1. EXif ภายในไฟล์
2. ชื่อไฟล์
3. วันเวลาของไฟล์ที่ระบบ Android สร้างไว้เรียกว่า Modified DateTime
โดยบางครั้ง Exif DateTime จะเร็วกว่าชื่อไฟล์ และ Modified DateTime จะช้าที่สุด ผิดพลาดกันไม่เกิน 1 วินาที (เกิดจากขั้นตอนในการสร้างไฟล์ที่ต้องใช้เวลา)

บันทึกเรื่องกล้องวิดีโอ
ลองถ่ายวิดีโอด้วย IgCamcorder ที่ตั้ง bit rate ไว้ที่ 1 Mbit/s ขนาด 640*480
ถ่ายการทดสอบไฟใต้น้ำสหรับสระว่ายน้ำ ถ่ายเวลาประมาณ 1 ทุ่ม
พบว่า ภาพมีการกระพริบของไฟฟลูออเรเซ็นต์รบกวนเกือบตลอดเวลา
ถ่ายไป 4 ตอน ได้ไฟล์ 3gp ขนาดต่างๆ ตามความยาวที่ถ่าย เช่นไฟล์ที่ยาวที่สุด 3 นาที 58 วินาที (238 วินาที) ได้ไฟล์ขนาด 31574581 ไบต์ เท่ากับประมาณ 1.06Mbit/s หากใช้ QuickTime ดูจะเห็นข้อมูลดังภาพ

11 กรกฎาคม 2554

บันทึกเรื่องของการใช้หน่วยความจำของแอ็ป

นี่คือบันทึกข้อมูลจากการทดลองของผมในเรื่องของการใช้หน่วยความจำของแอ็ป
ผมทำไว้กันลืม อาจจะอ่านยากนิดหน่อย แต่ก็น่าจะมีประโยชน์

ใช้กล้องวิดีโอให้เต็มประสิทธิภาพ


กล้องวิดีโอที่มาพร้อมกับเครื่องแอนดรอยด์ของเรานั้นมัคุณภาพดีเพียงใด
หากจะนำเอาโปรแกรมถ่ายวิดีโอตัวอื่นมาใช้แทนจะดีไหม

9 กรกฎาคม 2554

วิธีดูขนาดของ Storage และ RAM สำหรับมือถือแอนดรอยด์



อยากรู้ว่าเครื่องมี Memory เท่าไรดูได้ที่นี่

Smart Phone ก็เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีทั่วไป ที่นอกจากจะมีซีพียูแล้ว ก็ต้องมี Memory หรือหน่วยความจำสำหรับการทำงาน โดย Smart Phone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จะมีการใช้งานหน่วยความจำอยู่ 3 ชนิด คือ RAM, Storage และ SD Card

ทดสอบการติดตั้งและการใช้หน่วยความจำ

เครื่องมือการทดสอบ
  • File Expert

การตรวจดูขนาด
  • Storage = ROM = Phone Memory มีทั้งหมด 180.8MB (1MB=1024*1024=1048576 Byte) แต่ใน  Task manager จะแสดงเป็น 181MB
  • เรียก Settings > Manage applications
    • ดูที่ Downloaded จะเห็นรายการ App ที่เราติดตั้งเพิ่มเองทั้งหมด พร้อมขนาดของ Storage ที่ใช้ไป
      • คลิกที่ชื่อ App จะเป็นการเข้าไปดู Application info จะเห็น
        • Total คือ ขนาดของ Storage ที่ใช้ไป ซึ่งเป็นผลรวมของ Application+Data+Cache
        • Application คือขนาดของเนื้อโปรแกรม (รวม APK ด้วยหาก APK อยู่ใน Storage)
        • Data คือขนาดของข้อมูลที่โปรแกรมนี้สร้างและเก็บไว้ใช้งาน
        • Cache คือคือขนาดของข้อมูลชั่วคราว
    • ดูที่ Running คือ App ที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น
    • ดูที่ All คือ App ทั้งหมดของเครื่อง ประกอบด้วย App ที่ติดตั้งมากับ Firmware และ ที่เรา Download มาติดตั้งเพิ่มเอง สามารถสั่งเรียงตามขนาดได้
    • ดูที่ On SD card จะเป็นรายการของ App ที่มีการย้ายไฟล์ APK ไปไว้บน SD card ขนาดของหน่วยความจำที่แสดงใต้ชื่อ App จะเท่ากับที่แสดงในหน้า Downloaded ซึ่งก็คือขนาดของ Storage ที่โปรแกรมนี้ใช้ไป ยังไม่รวมไฟล์ APK ที่อยู่ใน SD card
  •  เรียก Tast manager
    • ดูที่ Package จะแสดงรายการของ Package ที่เราติดตั้งเพิ่ม (จะตรงกับรายการ Downloaded ของ Settings:Manage applications) พร้อมตัวเลขขนาดของ Package และจะแสดงขนาดของ Storage ที่ใช้ไปแล้ว/ที่มีทั้งหมด เช่น 41.89MB/181MB
สรุปการใช้หน่วยความจำของ App
  • จะมีการใช้หน่วยความจำ 2 ส่วน คือ
    • เนื้อ Application+Dara+Cache จะอยู่ใน Storage เสมอ
    • ไฟล์ APK ที่ดาวน์โหลดมา
      • หากเป็นโปรแกรมที่ Move to SD ได้ จะเก็บไว้บน SD card
      • หากเป็นโปรแกรมทั่วไป จะเก็บใน Storage
  • ตัวเลขที่แสดงใต้ชื่อ App หรือใน Application info คือตัวเลขของ Storage ที่ App นี้ใช้ไปทั้งหมด 
    • ตัวเลขนี้จะไม่รวม APK หากเป็นโปรแกรมที่ Move to SD ได้
    • ตัวเลขนี้จะรวม APK หากเป็นโปรแกรมทั่วไป เพราะ APK จะเก็บใน Storage
  • กรณีเก็บ APK ไว้ที่ SD card ไฟล์นี้จะอยู่ในโฟลเดอร์ย่อยใน โฟลเดอร์ asec ใน SD Card (ไม่สามารถใช้ My files ดูได้ ต้องใช้ File Manager อื่นเช่น File Expert) หากสั่งย้ายไปยังโทรศัพท์ ไฟล์และโฟลเดอร์นี้จะหายไป และย้ายไปอยู่ในโทรศัพท์แทน (Storage ของเครื่องจะลดลงเท่ากับขนาดไฟล์ APK ที่ย้ายเข้าไป)
  • App ที่สามารถ Move to SD ได้ จะใช้เนื้อที่ของ Storage น้อยลงเท่ากับขนาดของไฟล์ APK เท่านั้น
  • การลองติดตั้งและถอนโปรแกรม พบว่าเนื้อที่ของ Storage จะกลับคืนมาเหมือนเดิมได้ทุกครั้ง ยกเว้นบางกรณีที่พบว่า Storage หายไป ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
    • เกิดจาก App อื่นบางตัวมีการใช้ data หรือ Cache เพิ่ม หากต้องการคืน ก็อาจไปหาลบใน App เหล่านั้น
    • เกิดจากถอนการติดตั้งในขณะที่ App นั้นยังทำงานอยู่ จะทำให้เกิดการ Restart เครื่อง และ Storage นั้นจะกลายเป็นขยะ ไม่สามารถถอนออกได้
      • หากพบปัญหานี้ ให้ติดตั้ง App ตัวนั้นซ้ำ แล้วถอนใหม่ อาจทำให้ Storage นั้นกลับคืนมาได้ (เคยพบว่าคืนมาได้เท่ากับขนาดของ APK)

ตัวอย่างการทดสอบกับโปรแกรม Sygic
1. ก่อนติดตั้ง Storage ใช้ไปแล้ว 29.66M เหลือ151.34M จาก 181M
  • ไฟล์ APK ขนาด 5.9M

2. หลังติดตั้ง
  • Storage ใช้ไปแล้ว 45.36M เหลือ135.64M ใช้ไป 15.70M
  • ใช้เมนู Manage applications ของ Settings 
    • จะเห็น Sygic 15.68M ในแผ่น Downloaded และ On SD card 
    • กดที่ Sygic จะมีข้อมูล Application Info ของ App จะเห็น Total=15.68M Application=15.68M อย่างอื่น 0 และปุ่ม "Move to phone" จะติดสว่าง
  • ใช้ File Expert ดูไฟล์ใน SD-Card จะพบ asec/com.sygic.aura-1/pkg.apk ขนาด 5.89M

3. กดปุ่มสั่งย้ายไปยังโทรศัพท์
  • ดู Storage จะใช้ไปแล้ว 51.25M เหลือ129.75M หายไป 5.89M
  • ใช้เมนู Manage applications ของ Settings 
    • จะเห็น Sygic 21.57M ในแผ่น Downloaded แต่ใน On SD card จะไม่มีแล้ว
    • กดที่ Sygic จะมีข้อมูล Application Info ของ App จะเห็น Total=21.57M Application=21.57M อย่างอื่น 0 และปุ่ม "Move to SD card" จะติดสว่าง
    • จะเห็นว่า Application 21.75M ก็คือ 15.68M + 5.89M
    • 15.68M คือเนื้อโปรแกรมที่ถอดออกมาจาก APK ต้องอยู่ใน Storage เสมอ
    • 5.89M คือไฟล์ APK ต้นฉบับสามารถย้าไปมาระหว่าง SD Card กับ Storage ได้ (หากโปรแกรมนั้นสามารถติดตั้งบน SD-Card ได้)
เรื่องของ Contact
  •  สามารถสั่ง Import จากโปแแกรม Contact ได้ เช่นไฟล์ vcards_20111130_220209.vcf ที่สั่ง Backup ไว้ มี 254 รายชื่อ ขนาด 93.1K
  • วิธีการ Import
    • สั่ง Import/Export
    • เลือก Import from SD card
    • เลือก Phone โปรแกรมจะค้นหาไฟล์ Vcf ทั้งหมดใน SD Card แล้วจะถามว่าจะนำเข้า ไฟล์เดียว หลายไฟล์ หรือทั้งหมด ให้เลือก ไฟล์เดียว จะมีรายชื่อไฟล์มาให้เลือก เมื่อเลือกแล้วโปรแกรมจะนำเข้าข้อมูลทันที ได้ 254 รายชื่อ พร้อมรูปภาพ แต่กลุ่มจะหายไป
  • จากการทดลองพบว่า ขนาดของ Storage จะลดลง 550K ขณะที่ Contacts Storage เพื่มจาก 120K เป็น 676K เพิ่มขึ้น 556K ใกล้เคียงกับที่ลดไป
  • สามารถลบ Contact Storage ได้ เช่นเดิมมีรายชื่ออยู่ 676K สั่งลบด้วยโปรแกรม Contact จะเหลือ 120K แล้วสั่งลบ  Contact Storage ใน Settings จะกลายเป็น 0K แต่พอเรียก Contact มาดู จะมีการสร้างขึ้นมาใหม่เป็น 120K (สั่งลบทีเดียวใน Settings ก็ได้)
  • สรุปเรื่อง Contacts
    • เก็บข้อมูลอยู่ใน Storage
    • ใช้เนื้อที่ไม่มาก เช่น 254 ชื่อ ใช้ประมาณ 550K เฉลี่ย 2K ต่อชื่อ

    วิธีนำไฟล์ข้อมูลออกจากมือถือเข้าเครื่องคอมพ์

    เทคนิคการถ่ายโอนไฟล์จากเครื่องแอนดรอยด์ไปยังพีซี
    สำหรับผู้ที่ต้องการ copy ไฟล์จากมือถือไปยังพีซี หรือจากพีซีมายังมือถือ แต่ยังไม่รู่วิธีการ ลองดูบทความนี้ ที่จะแนะนำหลายๆ วิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่น่าสนใจ

    4 กรกฎาคม 2554

    เปลี่ยนฟอนต์ใหม่ให้น้อง Cooper

    ด้วยความที่ผมสายตาไม่ค่อยจะดีเท่าไร มองตัวอักษรเล็กๆ แล้วจะปวดตา เลยมีปัญหากับตัวอักษรไทยบนมือถือมาก
    เห็นหลายคนก็บ่นเหมือนกันว่าตัวอักษรบน Cooper ค่อนข้างเล็ก แม้จะมีหลายคนบอกว่ายังดีกว่าบางรุ่นที่เล็กกว่านี้อีก
    แต่เพื่อความสุขในการเล่นมือถือ ผมจึงลองจับเรื่องฟอนต์ขึ้นมาดู

    14 มิถุนายน 2554

    สวัสดี Thanai Android



    นี่คือปฐมบทของบล็อก "Thanai Android"
    ที่นี่จะเป็นที่สำหรับการบันทึกสิ่งดีๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับโอเอสแอนดรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน การพัฒนา หรือข่าวสาร

    อาจมีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ก็คงแล้วแต่โอกาสและอารมณ์

    สวัสดีทุกท่าน และสวัสดี Thanai Android