12 สิงหาคม 2554

ลองใช้แอปสำหรับการจัดการคลิปบอร์ด



รู้สึกเบื่อบ้างไหมกับการต้องคอยป้อนอีเมล์แอดเดรสของตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า ป้อนแต่ละทีก็ลำบาก แตะถูกบ้างผิดบ้าง ลองเก็บมันไว้เป็นข้อความในคลิปบอร์ดดีไหม จะใช้เมื่อไรก็คลิกวางได้เลย ไม่ต้องป้อนให้หงุดหงิดเสียเวลา

ลักษณะของโปรแกรมประเภทนี้คือ เราจะต้องสร้างหรือเก็บคำหรือข้อความที่ใช้บ่อยๆ เอาไว้ในโปรแกรมก่อน เช่นอีเมล์แอดเดรส ชื่อ หรือที่อยู่ พอถึงตอนจะกรอกข้อความ แทนที่จะค่อยๆ จิ้มกรอกทีละตัว ก็ใช้วิธีเรียกออกมาจาก Notification bar ที่อยู่ด้านบน เลือกคำที่จะใช้ แอปจะเอาคำๆ นั้นไปวางไว้ในคลิปบอร์ดให้ จากนั้นเราก็จะต้องสั่งวาง หรือ Paste อีกที เหมือนการ Paste ตามปกติ คือแตะค้างในจุดที่จะวาง รอจนเมนูโผล่ขึ้นมา แล้วเลือก "วาง" ผมได้ลองดาวน์โหลดมาใช้อยู่ 3 ตัวเปรียบเทียบกันได้แก่ copiPe, Clipper และ aNdClip Free มาลองติดตามดูว่าแต่ละตัวจะเป็นอย่างไรกันบ้าง


ตัวแรก CopiPe เป็นแอปของชาวญี่ปุ่น 







ข้อดี
-สร้างข้อความที่จะใช้วางได้เองไม่จำกัด สะดวก แก้ไขได้
-ใช้งานได้ฟรีแบบเต็มประสิทธิภาพ
-จัดกลุ่มข้อความเป็นโฟลเดอร์ได้
-สามารถวางวันที่หรือเวลาปัจจุบันได้

ข้อเสีย
-ต้องเตรียมข้อความไว้ก่อนเอง

ตัวต่อมา Clipper
ตัวนี้ก็น่าใช้้หมือนกัน แต่ต่างจากตัวแรกตรงที่สามารถเก็บคำที่เราสั่ง "copy" ในขั้นตอนที่เรา copy-paste ตามปกติ ไว้ให้ด้วย ดังนั้นหากเราจำได้ว่าคำๆ ไหนเคยสั่ง copy-paste ไว้แล้วก็สามารถเรียกคำนั้นออกมาใช้ใหม่ได้เลย

ข้อดี
-สามารถเก็บข้อความที่เคย copy ไว้ได้มากถึง 20 ข้อความล่าสุด
-สามารถปักหมุดข้อความที่ชอบไว้ตลอดไปได้ เพื่อใช้ซ้ำในอนาคตโดยจะไม่ถูกลบ
-สามารถสร้างข้อความพิเศษได้เอง
-ตั้งฟอนต์ได้ 5 ขนาด

ข้อเสีย
-สามารถวางวันที่หรือเวลาปัจจุบันได้ แต่ต้องเป็นรุ่นเสียเงิน

ตัวสุดท้ายคือ aNdClip Free เป็นของญี่ปุ่นเหมือนกับตัวแรก
ตัวนี้สามารถจำข้อความที่เราสั่ง copy-paste ไว้ได้เหมือน Clipper และสามารถนำเอาอีเมล์แอดเดรสที่เรามีอยู่แล้วในสมุดรายชื่อมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องสร้างใหม่

ข้อดี
-สามารถเก็บข้อความที่เคย copy ไว้ได้มากถึง 300 ข้อความล่าสุด
-สามารถสร้างข้อความใหม่ได้เอง รวมทั้งสร้างโฟลเดอร์ไว้เก็บข้อความเป็นกลุ่มได้
-ใช้อีเมลแอดเดรสหรือหมายเลขโทรศัพท์จากสมุดรายชื่อได้่โดยไม่ต้องสร้างใหม่
-ตั้งฟอนต์ได้ 5 ขนาด

ข้อเสีย
-ไม่สามารถวางวันที่หรือเวลาปัจจุบันได้
Published with Blogger-droid v1.7.4

9 สิงหาคม 2554

ลอง Video Call สำหรับ Cooper คุยกะ iPad2






หลังจากคุณนาย N.A. ของผมได้ของเล่นใหม่เป็นเครื่อง iPad2 มาเมื่อไม่กี่วันมานี้ คุณนายเกิดอยากโทรคุยกันกับผมแบบเห็นหน้า ทั้งที่เครื่อง Cooper ไม่มีกล้องหน้าแต่ก็อยากลองดู ผมจึงต้องเริ่มลองหาข้อมูลและโหลดแอปหลายๆ ตัวมาใช้ นี่คือผลสรุปครับ

แอปอ่านข่าว Thairath LITE


แอปอ่านข่าวฟรีสำหรับแฟนๆ ไทยรัฐ

ข้อดี
โปรแกรมเล็กและเร็วดี
ขนาดตัวอักษรปรับได้ถูกใจ

ส่วนที่น่าจะปรับปรุง
1. น่าจะสั่งโหลดข่าวมาอ่านแบบ offline ได้แบบออโต ตามหมวดข่าวที่เลือกไว้
2. แกลลอรีของข่าว ควรวางอยู่ท้ายข่าวด้วย
3. ขนาดตัวอักษรในหน้าหัวข้อข่าว ควรตั้งขนาดได้
4. ย้ายที่เก็บโปรแกรมไปไว้ใน Sd card จะได้ประหยัดหน่วยความจำของเครื่อง

3 สิงหาคม 2554

บันทึกปัญหาเรื่องวันเวลาของไฟล์ภาพและวิดีโอ
หากเราถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอจาก Galaxy Cooper ไฟล์ที่ได้จะมีปัญหาเรื่องวันที่และเวลา
คือเครื่องจะบันทึกเวลาท้องถิ่น (UTC+7) ลงใน EXIF แต่เวลาของไฟล์จะเป็นเวลา UTC
ส่วนไฟล์ Video จะไม่มี EXIF
แต่ยังโชคดีอย่างที่ชื่อไฟล์มักมีวันเวลาด้วย เช่น
2011-06-03 10.13.01.jpg
และ
video-2011-06-05-18-16-42.mp4
หรือ
2011_07_28__16_20_33.3gp
แต่ก็มีบางโปรแกรมที่ไม่บันทึกวันที่เวลาเป็นชื่อไฟล์ เช่น
VIDEO00006.mp4
สรุปไฟล์รูปภาพที่อยูใน Cooper จะมีบันทึกวันเวลาไว้ 3 จุดคือ
1. EXif ภายในไฟล์
2. ชื่อไฟล์
3. วันเวลาของไฟล์ที่ระบบ Android สร้างไว้เรียกว่า Modified DateTime
โดยบางครั้ง Exif DateTime จะเร็วกว่าชื่อไฟล์ และ Modified DateTime จะช้าที่สุด ผิดพลาดกันไม่เกิน 1 วินาที (เกิดจากขั้นตอนในการสร้างไฟล์ที่ต้องใช้เวลา)

บันทึกเรื่องกล้องวิดีโอ
ลองถ่ายวิดีโอด้วย IgCamcorder ที่ตั้ง bit rate ไว้ที่ 1 Mbit/s ขนาด 640*480
ถ่ายการทดสอบไฟใต้น้ำสหรับสระว่ายน้ำ ถ่ายเวลาประมาณ 1 ทุ่ม
พบว่า ภาพมีการกระพริบของไฟฟลูออเรเซ็นต์รบกวนเกือบตลอดเวลา
ถ่ายไป 4 ตอน ได้ไฟล์ 3gp ขนาดต่างๆ ตามความยาวที่ถ่าย เช่นไฟล์ที่ยาวที่สุด 3 นาที 58 วินาที (238 วินาที) ได้ไฟล์ขนาด 31574581 ไบต์ เท่ากับประมาณ 1.06Mbit/s หากใช้ QuickTime ดูจะเห็นข้อมูลดังภาพ